vasuthepchangsuwun

วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

ผู้เรียกร้องในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ

ผู้เรียกร้องในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ
Claimant in Arbitration

นายวาสุเทพ ช่างสุวรรณ
บัณฑิตศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาการตรวจสอบ และกฎหมายวิศวกรรม มหาวิทยาลัยรามคำแหงvasuthepchangsuwun@yahoo.com

บทคัดย่อ
เมื่อคู่พิพาทตกลงกันระงับข้อพิพาท ข้อเรียกร้อง ข้อโต้แย้ง ที่เกิดขึ้นแล้ว หรือจะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ โดยที่กระบวนแรกของการอนุญาโตตุลาการ จะต้องมีคู่พิพาทฝ่ายที่เริ่มกระบวนการอนุญาโตตุลาการนั้นคือผู้เรียกร้องในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ โดยผู้เรียกร้องจะส่ง คำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการโดยที่ผู้เรียกร้องประสงค์จะใช้สิทธิเรียกร้องอย่างใดอย่างหนึ่งที่ต้นอ้างว่ามีต่อคู่พิพาทอีกฝ่ายและให้อนุญาโตตุลาการวินิจชี้ขาดสิทธิที่มีการโต้แย้งกันอยู่นั้น
Abstract
When the parties agree to settle disputes which arisen or which may arise in the future by arbitration, the first requirement of the arbitral proceedings is that one of the litigant parties begins the arbitral proceedings. The party shall be a claimant. The claimant shall submit the Request of Arbitration to the arbitration institute using one of the disputes against the others. The arbitrators shall then decide the dispute and make an award
คำสำคัญ: กระบวนการอนุญาโตตุลาการ, ผู้เรียกร้อง, ข้อพิพาท

1. บทนำ
ในโครงการก่อสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการประเภทใดมักจะเกิดความขัดแย้งในด้านต่างๆได้เสมอและเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงแทบไม่ได้ หากคู่กรณีไม่สามารถหาข้อยุติในความขัดแย้งนั้นได้ก็จะเกิดเป็นข้อพิพาทขึ้น วิธีอนุญาโตตุลาการเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการระงับยุติข้อพิพาทในงานก่อสร้างและมีการยอมรับกันโดยทั่วไปในสากล โดยหลักการคือคู่กรณีจะเลือกบุคคลที่เป็นอนุญาโตตุลาการตัวแทนของแต่ละฝ่ายมาหาข้อยุติร่วมกัน หากตัวแทนทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ก็จะต้องแต่งตั้งบุคคลที่สามเพื่อเป็นอนุญาโตตุลาการผู้ตัดสินชี้ขาด
วิธีอนุญาโตตุลาการนี้มีข้อเด่นที่การให้คู่กรณีมีโอกาสในการยุติข้อพิพาทกันเอง สามารถจะรักษาความลับได้ และที่สำคัญผลคำตัดสินของวิธีนี้จะผูกพันคู่กรณีได้ตามกฎหมาย จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะให้ความคุ้มค่าในการแก้ไขข้อขัดแย้งและจะยุติข้อพิพาทใดๆ ดังนั้นข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการที่มีการตกลงร่วมกันของคู่สัญญาก่อสร้างจะเป็นรูปแบบการประกันความสูญเสียอีกแบบหนึ่ง หากคู่สัญญาก่อสร้าง ไม่ได้มีการกำหนดแนวทางและการใช้สัญญาระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการไว้ตั้งแต่เริ่มต้นการทำสัญญา เมื่อเกิดกรณีพิพาทขึ้นเจ้าของโครงการหรือผู้รับเหมาก่อสร้างอาจจะนำกรณีพิพาทนั้นไปฟ้องต่อศาล ทำให้คดีอยู่ในการควบคุมและดำเนินไปโดยทนายความของคู่กรณีและข้อยุติจะขึ้นอยู่กับการตัดสินของศาล ในลักษณะนี้คู่สัญญาก่อสร้างจะเสียโอกาสในการใช้สิทธิของตนในการยุติข้อพิพาทด้วยกันเอง ในสัญญามาตรฐานงานก่อสร้างของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศ
ไทยที่พัฒนาขึ้นจากสัญญามาตรฐานของ FIDIC (La Fe'de'ration International des Inge'nieursConseils) มีเนื้อหาและใจความกล่าวในด้านระบบและกระบวนการอนุญาโตตุลาการเป็นหลัก แต่ไม่ได้กล่าวในด้านกรอบของสิทธิที่คู่สัญญาก่อสร้างจะนำสัญญานี้มาใช้ได้เพียงใด
ดังนั้นปัญหาดังกล่าวในทางปฏิบัติเมื่อคู่สัญญาไม่ได้หยิบยกข้อสัญญานี้ขึ้นมาใช้เพราะไม่รู้ว่ามีสิทธิและความผูกพันในการใช้ได้เพียงใด อาจมีการตัดปัญหาดังกล่าวโดยใช้วิธีการตกลงนอกรอบหรือเป็นการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งบางกรณีสัญญาก่อสร้างหรือเอกสารประกอบสัญญาจะให้อำนาจกับฝ่ายรัฐเป็นผู้ชี้ขาดฝ่ายเดียว จะเกิดเป็นข้อกำหนดในสัญญาที่อาจไม่เป็นธรรมในบางกรณีได้ ดังนั้นการได้ใช้สัญญาอนุญาโตตุลาการ จะเป็นวิธีทางหนึ่งที่จะทำให้ข้อพิพาทต่างๆได้รับการแก้ไขอย่างมีระบบและเป็นธรรมตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
อีกปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่น่าสนใจในวงการก่อสร้าง คือ ส่วนใหญ่คู่กรณีพิพาทจะเลือกอนุญาโตตุลาการที่เป็นตัวแทนของตน เป็นนักกฎหมายมากกว่าการเลือกผู้มีวิชาชีพทางการก่อสร้างเนื่องจากยังขาดความรู้และเข้าใจในหลักการใช้วิธีทางอนุญาโตตุลาการ การเลือกนักกฎหมายเป็นอนุญาโตตุลาการนี้จะเกิดปัญหาการทำความเข้าใจในการก่อสร้าง เพราะไม่สามารถเข้าถึงประเด็นปัญหาอย่างแท้จริง
ดังนั้นในทางปฏิบัติจะต้องมีการแต่งตั้งวิศวกรคนกลางมาทำหน้าที่ในการสรุปประเด็นกรณีข้อพิพาทนั้นก่อนที่มีการตัดสินชี้ขาด จะทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการพิจารณาและไม่เกิดประสิทธิภาพในการพิจารณาประเด็นข้อพิพาท ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการศึกษาถึงปัญหาการใช้ และศึกษาแนวทางในการพิจารณาใช้สัญญาอนุญาโตตุลาการให้ชัดเจนเพื่อคู่สัญญาก่อสร้างจะสามารถรักษาสิทธิในการใช้สัญญานี้ตามเจตนาที่ได้ตกลงกันไว้ การศึกษานี้จะช่วยเสริมองค์ความรู้ให้กับผู้มีวิชาชีพวิศวกรโยธา สถาปนิก นำไปพิจารณาใช้ในฐานะอนุญาโตตุลาการ (Arbitrator) เจ้าของโครงการในฐานะผู้ว่าจ้าง ผู้รับเหมาก่อสร้างในฐานะผู้รับจ้างและกับวงการวิศวกรรมก่อสร้าง

2. ผู้เรียกร้องในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ
2.1 ขั้นตอนการพิจารณาในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ
2.1.1 มีข้อพิพาทเกิดขึ้นในสัญญาที่มีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ
2.1.2 คำเสนอข้อพิพาทโดย(ผู้เรียกร้อง)และคำเรียกร้องแย้ง โดย(ผู้คัดค้าน) ซึ่งเริ่มต้นกระบวนการอนุญาฯโดยการส่ง“คำเสนอข้อพิพาท”ต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการของผู้เรียกร้อง
2.1.3 นัดพร้อมเพื่อไกล่เกลี่ย และกำหนดกระบวนพิจารณา
2.1.3 ไม่สามารถตกลงกันได้ดำเนินการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ
2.1.4 กำหนดประเด็นข้อพิพาท หน้าที่นำสืบพยานและกระบวนพิจารณา
2.1.5 คณะอนุญาโตตุลาการดำเนินการสืบพยาน
2.1.6 คณะอนุญาโตตุลาการทำการชี้ขาด
2.1.7 ส่งสำเนาคำชี้ขาดให้แก่คู่กรณี
2.1.8 กรณีมีการแก้ไขเพิ่มเติม ตีความคำชี้ขาด
2.1.9 ขอให้ศาลเพิกถอน หรือบังคับให้ตามคำชี้ขาด

2.2 ผู้เรียกร้องในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ คือใคร
“ผู้เรียกร้อง” คือคู่พิพาทฝ่ายที่เริ่มกระบวนการอนุญาโตตุลาการด้วยการส่ง “คำเสนอข้อพิพาท” ต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเปรียบได้กับ “โจทก์” ในการฟ้องร้องคดีต่อศาล โดยผู้เรียกร้องประสงค์จะใช้สิทธิเรียกร้องอย่างใดอย่างหนึ่งที่ตนอ้างว่ามีต่อคู่พิพาทอีกฝ่าย และให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับสิทธิที่มีการโต้แย้งกันอยู่นั้น

2.3 เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นจะต้องทำอย่างไรดี
ก่อนอื่นท่านต้องตรวจสออบก่อนว่าในสัญญาที่ท่านทำกับคู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่งไก้กำหนดวิธีการระงับข้อพิพาทไว้อย่างไร สัญญากำหนดให้ระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการหรือวิธีการอื่น หากในสัญญามีการกำหนดกระบวนการหรือขั้นตอนใดๆ ก่อนจะให้มอบขอพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ เช่น การเจรจา การไกล่เกลี่ย เป็นต้น ท่าน
ควรต้องดำเนินกระบวนการหรือข้นตอนดังกล่าวให้ครบถ้วนเสียก่อน

2.4 จะมอบข้อพิพาททุกเรื่องให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้หรือไม่
ท่าต้องตรวจสอบดูก่อนว่าในสัญญากำหนดขอบเขตหรือประเภทของข้อพิพาทที่จะสามารถมอบให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดได้หรือไม่ ตามปกติท่านย่อมสามารถมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดได้เฉพาะข้อพิพาทตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเท่านั้น

2.5 “คำเสนอข้อพิพาท” จะต้องมีรายละเอียดอะไรบ้าง
คำเสนอข้อพิพาทเป็นเอกสารที่ใช้ในการเริ่มกระบวนการอนุญาโตตุลาการต่อสถาบันฯ เปรียบได้กับคำฟ้องที่เสนอต่อศาล โดยอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้ คำขอให้ระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ ชื่อและที่อยู่ของคู่พิพาท ข้อสัญญาอนุโตตุลาการสัญญาหรือนิติสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทข้อเท็จจริงอันเป็นฐานแห่งข้อเรียกร้อง และจำนวนเงินที่เรียกร้องข้อเรียกร้องและคำขอ จำนวนอนุญาโตตุลาการ (กรณีไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญา) พร้อมสำเนาในจำนวนเพียงพอที่จะส่งให้คณะอนุญาโตตุลาการ และคู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่ง

2.6 นอกจากคำเสนอข้อพิพาทแล้วต้องยื่นเอกสารอะไรประกอบอีกบ้าง
เอกสารอื่นเช่นหนังสือมอบอำนาจ หนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ของทั้งสองฝ่าย (กรณีเป็นห้างหุ้นส่วน บริษัท) ใบมอบฉันทะ (กรณีให้ผู้อื่นยื่นเอกสารแทน) สัญญาหรือสำเนาสัญญาที่เกี่ยวกับพิพาท เป็นต้น

2.7 การมอบข้อพิพาทให้สถาบันอนุญาโตตุลาการสำนักงานศาลยุติธรรม ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่
คู่พิพาทไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการจัดการให้แก่สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม โดยจะต้องเสียเฉพาะค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามที่เกิดขึ้นในการดำเนินกระบวนพิจารณาเท่านั้น เช่น ค่าป่วยการ ค่าเครื่องดื่ม และของว่างในการประชุมและค่าอากรแสตมป์ เป็นต้น
2.8 หากต้องการจะไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมยอมความในชั้นอนุญาโตตุลาการจะทำอย่างไร
คู่พิพาทสามารถร้องขอให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยสถาบันอนุญาโตตุลาการได้ ซึ่งตามปกติมักจะกระทำในนัดแรกของกระบวนพิจารณา แต่แม้จะผ่านกระบวนพิจารณานัดดังกล่าวแล้ว แต่คู่พิพาทสามารถทำความตกลงประนะประนอมยอมความภายหลังก็สามารถทำได้เสมอ ซึ่งเมือสามารถตกลงกันได้อาจจะให้มีการถอนข้อเรียกร้องไป หรือให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดตามยอมก็ได้

2.9 หากต้องการจะเปลี่ยนแปลงรายละเอียดขั้นตอนในการดำเนินกระบวนพิจารณาที่กำหนดในสัญญา หรือข้อบังคับจะทำได้หรือไม่ เพียงใด
ตามปกติคู่พิพาทย่อมสามารถตกลงเปลี่ยนแปลงรายละเอียดขั้นตอนในการดำเนินกระบวนพิจารณาได้ตามที่ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าเหมาะสมกับข้อพิพาทของตน แต่เมื่อมีการตกลงอย่างไรแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในข้อสัญญาอนุโตตุลาการ หรือความตกลงต่างหาก คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อตกลงนั้นได้แต่ฝ่ายเดียว

2.10 ภายหลังส่งเรื่องให้สถาบันฯ แล้วจะต้องทำอย่างไรต่อไป
สถาบันฯ จะจัดส่งสำเนาคำเสนอข้อพิพาทให้คู่พิพาทอีกฝ่ายซึ่งเรียกว่า “ผู้คัดค้าน” เพื่อให้ทำคำคัดค้านภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับสำเนาคำเสนอข้อพิพาท ระหว่างนี้ผู้เรียกร้องควรต้องติดต่อประสานงานกับนิติกรเจ้าของสำนวนหากปรากฏว่าการจัดส่งเอกสารมีข้อขัดข้อง เพื่อจะได้ดำเนินการจัดส่งใหม่ หรือแถลงเกี่ยวกับที่อยู่ปัจจุบันของผู้คัดค้าน

2.11 กระบวนการภายหลังการส่งคำคู่ความจะเป็นอย่างไรต่อไป
เมื่อดำเนินการเกี่ยวกับคำเสนอข้อพิพาทและคำคัดค้านเรียบร้อยแล้วสถาบันฯ จะดำเนินการเกี่ยวกับการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการตามจำนวนที่กำหนดในสัญญา หากมีฝ่ายใดไม่แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการตามกำหนดก็จะต้องดำเนินการร้องขอให้ศาลตั้งต่อไป เมื่อได้อนุญาโตตุลาการครบแล้ว ก็จะดำเนินการนัดพร้อมเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทและวันสืบพยานของแต่ละฝ่าย เมื่ออนุญาโตตุลาการทำคำชี้ขาดเสร็จแล้วสถาบันฯ ก็จะส่งสำเนาคำชี้ขาดให้คู่พิพาทแต่ละฝ่ายทราบ

2.12 การเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง เพื่อการสืบพยาน ในชั้นอนุญาโตตุลาการ
คู่พิพาทควรมีการเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับพยานหลักฐานที่จะนำเข้าสืบให้พร้อม เนื่องจากคณะอนุญาโตตุลาการอาจจะกำหนดให้ทั้งสองฝ่ายส่งบันทึกคำให้การพยานเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าเพื่อว่า เมื่อถึงวันนัดสืบพยานคู่พิพาทอีกฝ่ายเพียงแต่ถามค้านจากบันทึกคำให้การพยานที่ได้ส่งไว้แล้ว ทั้งนี้เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินกระบวนพิจารณาของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

2.13 ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการมาตรฐานสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม
“ข้อพิพาทขัดแย้ง หรือข้อเรียกร้องใดๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญานี้ รวมทั้งปัญหาการผิดสัญญา การเลิกสัญญาหรือความสมบูรณ์ของสัญญานี้ ให้ทำการวินิจฉัยชี้ขาดโดยการอนุญาโตตุลาการตามข้อบังคับอนุญาโตตุลาการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการเสนอข้อพิพาท เพื่อการอนุญาโตตุลาการและให้อยู่ภายใต้การจัดการของสถาบันดังกล่าว

2.14 ประโยชน์ที่จะได้จากระบบอนุญาโตตุลาการในศาล
ประโยชน์ที่จะได้จากระบบอนุญาโตตุลาการในศาล คือ ศาลอาจกำหนดโดยความเห็นชอบของคู่ความทุกฝ่ายในการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นมาเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงที่อาจต้องนำพยานหลักฐานมาสืบในศาลเป็นเวลานานเนื่องจากเป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะของวิชาชีพ เช่น ข้อพิพาทว่าตึกร้าวเป็นความผิดของวิศวกรผู้ออกแบบหรือผู้รับจ้าง แพทย์กระทำการโดยประมาทเลินเล่อในการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับคนไข้หรือไม่ นักบินกระทำการโดยประมาทเลินเล่อในการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการนำเครื่องบินลงหรือขึ้นจากสถานบินหรือไม่ ในกรณีข้างต้นหากคู่ความสามารถตกลงให้อนุญาโตตุลาการที่มีความรู้เชี่ยวชาญพิเศษเช่น คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ หรือแม้ว่าวิศวกรการบินจากต่างประเทศ2 เป็นผู้ชี้ขาดในข้อพิพาทต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็จะทำให้การพิจารณาพิพากษาของศาลเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และถูกต้องตามเจตนารมณ์ของคู่ความและหลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง

3. สรุป
สรุปเกี่ยวกับเรื่องอนุญาโตตุลาการ จึงถือว่าเป็นหน้าที่ของศาลภายใต้กฎหมายไทย คือพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.๒๕๔๕ ที่จะต้องช่วยส่งเสริมและคอยควบคุมดูแลระบบอนุญาโตตุลาการให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน้าที่หลักของศาลภายใต้พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ
ซึ่งแบ่งได้ 3 ประการดังนี้
ประการแรก หน้าที่จะต้องจำหน่ายคดีเมื่อคู่กรณีมีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการระหว่างกัน กล่าวคือหากคู่กรณีฟ้องคดีต่อศาลเกี่ยวกับข้อพิพาทในสัญญา โดยไม่ได้ดำเนินการอนุญาโตตุลาการตามสัญญากันก่อน เมื่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องการให้ใช้สัญญาอนุญาโตตุลาการ ศาลก็จะต้องจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวเป็นหน้าที่ในอันที่จะส่งเสริมระบบอนุญาโตตุลาการ เพราะหากศาลไม่สั่งจำหน่ายคดีก็จะเป็นการทำลายเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ และจะทำให้ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการไม่มีผลใช้บังคับ
ประการที่สอง เป็นหน้าที่ในการสนับสนุนการดำเนินการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการหน้าที่ดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจศาลเกี่ยวกับการมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เพื่อประโยชน์ของคู่กรณีในระหว่างพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ และการให้ศาลชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายนอกจากนี้ศาลยังอาจสนับสนุนกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการ โดยจะเป็นคนกลางชี้ขาดหรือตัดสินปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ เช่น การขอให้ศาลแต่งตั้งและถอดถอนอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาด การขยายเวลาในการพิจารณา เป็นต้น
ประการสุดท้าย คือ หน้าที่ในการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ หากคู่กรณีไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดดังกล่าว ฝ่ายที่จะขอให้มีการบังคับจะต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาตามคำชี้ขาด การที่จะมีคำพิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือไม่นั้น ศาลจะต้องไต่สวนว่าคำชี้ขาดนั้นว่าชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทหรือไม่เป็นคำชี้ขาดที่เกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบหรือไม่ คำชี้ขาดนั้นอยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการหรือคำขอของคู่กรณีหรือไม่ ซึ่งอำนาจในการไต่สวนดังกล่าวทำให้ศาลเป็น
ผู้ควบคุมดูแลกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการให้ดำเนินไปโดยถูกต้อง
การไต่สวนของศาลจะต้องกระทำโดยด่วน และจะต้องพิจารณาว่าการดำเนินกระบวนการพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีข้อผิดพลาดหรือไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ ถ้าหากไม่มีข้อผิดพลาดหรือบกพร่องศาลก็จะมีคำพิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปวินิจฉัยถึงประเด็นข้อพิพาทที่อนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดไปแล้ว และศาลต้องมีทัศนคติที่ดีต่อระบบอนุญาโตตุลาการไม่ว่าจะเป็นอนุญาโตตุลาการภายในประเทศหรืออนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ดังนั้นระบบการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ จึงมีความจำเป็นสำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน สถาบันศาลจะต้องให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการดูแลให้ระบบนี้เจริญก้าวหน้าเคียงคู่ศาลและเป็นผู้ช่วยของศาลในการระงับข้อพิพาททางแพ่งและพาณิชย์





4. กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบพระคุณ อาจารย์ปรัชญา อยู่ประเสริฐ จากสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ที่ได้บรรยายสรุปในหัวข้อ การอนุญาโตตุลาการกับงานวิศวกรรมโดยที่ผู้เขียนสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการบรรยายมาประยุกต์ใช้ในบทความของผู้เขียนเองและผู้เขียนขอขอบพระคุณเพื่อนๆพี่ๆทุกท่านและบางท่านที่มิได้เอ่ยนามในที่นี้ ที่ได้ให้ข้อมูลของการอนุญาโตตุลาการต่างๆด้วยดีเสมอมา
ท้ายนี้ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความที่ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลมานี้นั้น จะมีประโยชน์แก่ท่านที่สนใจ ไม่มากก็น้อยในการค้นคว้าหาข้อมูลต่อไป


เอกสารอ้างอิง
[1] การอนุญาโตตุลาการ สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม
[2] กฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม
[3] ประมวลจริยธรรมของอนุญาโตตุลาการ สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม
[4] สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม. http://www.adr.or.th
[5] รศ. ดร.กอบกุล รายะนาคร, การระงับข้อพิพาทโดยสันติ. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. <> http://www.law.cmu.ac.th/admin/journal/up_pic/62512.ppt

ประวัติผู้เขียน
นายวาสุเทพ ช่างสุวรรณ วศบ. (โยธา) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
ผู้จัดการโครงการ
บริษัท อินเตอร์ ซีเอ็ม จำกัด

วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553

ผู้เรียกร้องในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ

ผู้เรียกร้องในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ

นายวาสุเทพ ช่างสุวรรณ
ผู้จัดการโครงการ บริษัท อินเตอร์ ซีเอ็ม จำกัด vasuthepchangsuwun@yahoo.com

คำสำคัญ: กระบวนการอนุญาโตตุลาการ, ผู้เรียกร้อง, ข้อพิพาท

1. บทนำ
ในโครงการก่อสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการประเภทใดมักจะเกิดความขัดแย้งในด้านต่างๆได้เสมอและเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงแทบไม่ได้ หากคู่กรณีไม่สามารถหาข้อยุติในความขัดแย้งนั้นได้ก็จะเกิดเป็นข้อพิพาทขึ้น วิธีอนุญาโตตุลาการเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการระงับยุติข้อพิพาทในงานก่อสร้างและมีการยอมรับกันโดยทั่วไปในสากล โดยหลักการคือคู่กรณีจะเลือกบุคคลที่เป็นอนุญาโตตุลาการตัวแทนของแต่ละฝ่ายมาหาข้อยุติร่วมกัน หากตัวแทนทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ก็จะต้องแต่งตั้งบุคคลที่สามเพื่อเป็นอนุญาโตตุลาการผู้ตัดสินชี้ขาด
วิธีอนุญาโตตุลาการนี้มีข้อเด่นที่การให้คู่กรณีมีโอกาสในการยุติข้อพิพาทกันเอง สามารถจะรักษาความลับได้ และที่สำคัญผลคำตัดสินของวิธีนี้จะผูกพันคู่กรณีได้ตามกฎหมาย จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะให้ความคุ้มค่าในการแก้ไขข้อขัดแย้งและจะยุติข้อพิพาทใดๆ ดังนั้นข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการที่มีการตกลงร่วมกันของคู่สัญญาก่อสร้างจะเป็นรูปแบบการประกันความสูญเสียอีกแบบหนึ่ง หากคู่สัญญาก่อสร้าง ไม่ได้มีการกำหนดแนวทางและการใช้สัญญาระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการไว้ตั้งแต่เริ่มต้นการทำสัญญา เมื่อเกิดกรณีพิพาทขึ้นเจ้าของโครงการหรือผู้รับเหมาก่อสร้างอาจจะนำกรณีพิพาทนั้นไปฟ้องต่อศาล ทำให้คดีอยู่ในการควบคุมและดำเนินไปโดยทนายความของคู่กรณีและข้อยุติจะขึ้นอยู่กับการตัดสินของศาล ในลักษณะนี้คู่สัญญาก่อสร้างจะเสียโอกาสในการใช้สิทธิของตนในการยุติข้อพิพาทด้วยกันเอง ในสัญญามาตรฐานงานก่อสร้างของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศ
ไทยที่พัฒนาขึ้นจากสัญญามาตรฐานของ FIDIC (La Fe'de'ration International des Inge'nieursConseils) มีเนื้อหาและใจความกล่าวในด้านระบบและกระบวนการอนุญาโตตุลาการเป็นหลัก แต่ไม่ได้กล่าวในด้านกรอบของสิทธิที่คู่สัญญาก่อสร้างจะนำสัญญานี้มาใช้ได้เพียงใด
ดังนั้นปัญหาดังกล่าวในทางปฏิบัติเมื่อคู่สัญญาไม่ได้หยิบยกข้อสัญญานี้ขึ้นมาใช้เพราะไม่รู้ว่ามีสิทธิและความผูกพันในการใช้ได้เพียงใด อาจมีการตัดปัญหาดังกล่าวโดยใช้วิธีการตกลงนอกรอบหรือเป็นการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งบางกรณีสัญญาก่อสร้างหรือเอกสารประกอบสัญญาจะให้อำนาจกับฝ่ายรัฐเป็นผู้ชี้ขาดฝ่ายเดียว จะเกิดเป็นข้อกำหนดในสัญญาที่อาจไม่เป็นธรรมในบางกรณีได้ ดังนั้นการได้ใช้สัญญาอนุญาโตตุลาการ จะเป็นวิธีทางหนึ่งที่จะทำให้ข้อพิพาทต่างๆได้รับการแก้ไขอย่างมีระบบและเป็นธรรมตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
อีกปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่น่าสนใจในวงการก่อสร้าง คือ ส่วนใหญ่คู่กรณีพิพาทจะเลือกอนุญาโตตุลาการที่เป็นตัวแทนของตน เป็นนักกฎหมายมากกว่าการเลือกผู้มีวิชาชีพทางการก่อสร้างเนื่องจากยังขาดความรู้และเข้าใจในหลักการใช้วิธีทางอนุญาโตตุลาการ การเลือกนักกฎหมายเป็นอนุญาโตตุลาการนี้จะเกิดปัญหาการทำความเข้าใจในการก่อสร้าง เพราะไม่สามารถเข้าถึงประเด็นปัญหาอย่างแท้จริง
ดังนั้นในทางปฏิบัติจะต้องมีการแต่งตั้งวิศวกรคนกลางมาทำหน้าที่ในการสรุปประเด็นกรณีข้อพิพาทนั้นก่อนที่มีการตัดสินชี้ขาด จะทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการพิจารณาและไม่เกิดประสิทธิภาพในการพิจารณาประเด็นข้อพิพาท ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการศึกษาถึงปัญหาการใช้ และศึกษาแนวทางในการพิจารณาใช้สัญญาอนุญาโตตุลาการให้ชัดเจนเพื่อคู่สัญญาก่อสร้างจะสามารถรักษาสิทธิในการใช้สัญญานี้ตามเจตนาที่ได้ตกลงกันไว้ การศึกษานี้จะช่วยเสริมองค์ความรู้ให้กับผู้มีวิชาชีพวิศวกรโยธา สถาปนิก นำไปพิจารณาใช้ในฐานะอนุญาโตตุลาการ (Arbitrator) เจ้าของโครงการในฐานะผู้ว่าจ้าง ผู้รับเหมาก่อสร้างในฐานะผู้รับจ้างและกับวงการวิศวกรรมก่อสร้าง

2. ผู้เรียกร้องในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ
2.1 ขั้นตอนการพิจารณาในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ
2.1 มีข้อพิพาทเกิดขึ้นในสัญญาที่มีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ
2.2 คำเสนอข้อพิพาทโดย(ผู้เรียกร้อง)และคำเรียกร้องแย้ง โดย(ผู้คัดค้าน) ซึ่งเริ่มต้นกระบวนการอนุญาฯโดยการส่ง“คำเสนอข้อพิพาท”ต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการของผู้เรียกร้อง
2.3 นัดพร้อมเพื่อไกล่เกลี่ย และกำหนดกระบวนพิจารณา
2.4 ไม่สามารถตกลงกันได้ดำเนินการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ
2.5 กำหนดประเด็นข้อพิพาท หน้าที่นำสืบพยานและกระบวนพิจารณา
2.6 คณะอนุญาโตตุลาการดำเนินการสืบพยาน
2.7 คณะอนุญาโตตุลาการทำการชี้ขาด
2.8 ส่งสำเนาคำชี้ขาดให้แก่คู่กรณี
2.9 กรณีมีการแก้ไขเพิ่มเติม ตีความคำชี้ขาด
2.10 ขอให้ศาลเพิกถอน หรือบังคับให้ตามคำชี้ขาด

2.2 ผู้เรียกร้องในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ คือใคร
“ผู้เรียกร้อง” คือคู่พิพาทฝ่ายที่เริ่มกระบวนการอนุญาโตตุลาการด้วยการส่ง “คำเสนอข้อพิพาท” ต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเปรียบได้กับ “โจทก์” ในการฟ้องร้องคดีต่อศาล โดยผู้เรียกร้องประสงค์จะใช้สิทธิเรียกร้องอย่างใดอย่างหนึ่งที่ตนอ้างว่ามีต่อคู่พิพาทอีกฝ่าย และให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับสิทธิที่มีการโต้แย้งกันอยู่นั้น


2.3 เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นจะต้องทำอย่างไรดี
ก่อนอื่นท่านต้องตรวจสออบก่อนว่าในสัญญาที่ท่านทำกับคู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่งไก้กำหนดวิธีการระงับข้อพิพาทไว้อย่างไร สัญญากำหนดให้ระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการหรือวิธีการอื่น หากในสัญญามีการกำหนดกระบวนการหรือขั้นตอนใดๆ ก่อนจะให้มอบขอพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ เช่น การเจรจา การไกล่เกลี่ย เป็นต้น ท่านควรต้องดำเนินกระบวนการหรือข้นตอนดังกล่าวให้ครบถ้วนเสียก่อน

2.4 จะมอบข้อพิพาททุกเรื่องให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้หรือไม่
ท่าต้องตรวจสอบดูก่อนว่าในสัญญากำหนดขอบเขตหรือประเภทของข้อพิพาทที่จะสามารถมอบให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดได้หรือไม่ ตามปกติท่านย่อมสามารถมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดได้เฉพาะข้อพิพาทตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเท่านั้น

2.5 “คำเสนอข้อพิพาท” จะต้องมีรายละเอียดอะไรบ้าง
คำเสนอข้อพิพาทเป็นเอกสารที่ใช้ในการเริ่มกระบวนการอนุญาโตตุลาการต่อสถาบันฯ เปรียบได้กับคำฟ้องที่เสนอต่อศาล โดยอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้ คำขอให้ระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ ชื่อและที่อยู่ของคู่พิพาท ข้อสัญญาอนุโตตุลาการสัญญาหรือนิติสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทข้อเท็จจริงอันเป็นฐานแห่งข้อเรียกร้อง และจำนวนเงินที่เรียกร้องข้อเรียกร้องและคำขอ จำนวนอนุญาโตตุลาการ (กรณีไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญา) พร้อมสำเนาในจำนวนเพียงพอที่จะส่งให้คณะอนุญาโตตุลาการ และคู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่ง

2.6 นอกจากคำเสนอข้อพิพาทแล้วต้องยื่นเอกสารอะไรประกอบอีกบ้าง
เอกสารอื่นเช่นหนังสือมอบอำนาจ หนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ของทั้งสองฝ่าย (กรณีเป็นห้างหุ้นส่วน บริษัท) ใบมอบฉันทะ (กรณีให้ผู้อื่นยื่นเอกสารแทน) สัญญาหรือสำเนาสัญญาที่เกี่ยวกับพิพาท เป็นต้น

2.7 การมอบข้อพิพาทให้สถาบันอนุญาโตตุลาการสำนักงานศาลยุติธรรม ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่
คู่พิพาทไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการจัดการให้แก่สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม โดยจะต้องเสียเฉพาะค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามที่เกิดขึ้นในการดำเนินกระบวนพิจารณาเท่านั้น เช่น ค่าป่วยการ ค่าเครื่องดื่ม และของว่างในการประชุมและค่าอากรแสตมป์ เป็นต้น

2.8 หากต้องการจะไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมยอมความในชั้นอนุญาโตตุลาการจะทำอย่างไร
คู่พิพาทสามารถร้องขอให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยสถาบันอนุญาโตตุลาการได้ ซึ่งตามปกติมักจะกระทำในนัดแรกของกระบวนพิจารณา แต่แม้จะผ่านกระบวนพิจารณานัดดังกล่าวแล้ว แต่คู่พิพาทสามารถทำความตกลงประนะประนอมยอมความภายหลังก็สามารถทำได้เสมอ ซึ่งเมือสามารถตกลงกันได้อาจจะให้มีการถอนข้อเรียกร้องไป หรือให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดตามยอมก็ได้

2.9 หากต้องการจะเปลี่ยนแปลงรายละเอียดขั้นตอนในการดำเนินกระบวนพิจารณาที่กำหนดในสัญญา หรือข้อบังคับจะทำได้หรือไม่ เพียงใด
ตามปกติคู่พิพาทย่อมสามารถตกลงเปลี่ยนแปลงรายละเอียดขั้นตอนในการดำเนินกระบวนพิจารณาได้ตามที่ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าเหมาะสมกับข้อพิพาทของตน แต่เมื่อมีการตกลงอย่างไรแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในข้อสัญญาอนุโตตุลาการ หรือความตกลงต่างหาก คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อตกลงนั้นได้แต่ฝ่ายเดียว

2.10 ภายหลังส่งเรื่องให้สถาบันฯ แล้วจะต้องทำอย่างไรต่อไป
สถาบันฯ จะจัดส่งสำเนาคำเสนอข้อพิพาทให้คู่พิพาทอีกฝ่ายซึ่งเรียกว่า “ผู้คัดค้าน” เพื่อให้ทำคำคัดค้านภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับสำเนาคำเสนอข้อพิพาท ระหว่างนี้ผู้เรียกร้องควรต้องติดต่อประสานงานกับนิติกรเจ้าของสำนวนหากปรากฏว่าการจัดส่งเอกสารมีข้อขัดข้อง เพื่อจะได้ดำเนินการจัดส่งใหม่ หรือแถลงเกี่ยวกับที่อยู่ปัจจุบันของผู้คัดค้าน

2.11 กระบวนการภายหลังการส่งคำคู่ความจะเป็นอย่างไรต่อไป
เมื่อดำเนินการเกี่ยวกับคำเสนอข้อพิพาทและคำคัดค้านเรียบร้อยแล้วสถาบันฯ จะดำเนินการเกี่ยวกับการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการตามจำนวนที่กำหนดในสัญญา หากมีฝ่ายใดไม่แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการตามกำหนดก็จะต้องดำเนินการร้องขอให้ศาลตั้งต่อไป เมื่อได้อนุญาโตตุลาการครบแล้ว ก็จะดำเนินการนัดพร้อมเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทและวันสืบพยานของแต่ละฝ่าย เมื่ออนุญาโตตุลาการทำคำชี้ขาดเสร็จแล้วสถาบันฯ ก็จะส่งสำเนาคำชี้ขาดให้คู่พิพาทแต่ละฝ่ายทราบ

2.12 การเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง เพื่อการสืบพยาน ในชั้นอนุญาโตตุลาการ
คู่พิพาทควรมีการเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับพยานหลักฐานที่จะนำเข้าสืบให้พร้อม เนื่องจากคณะอนุญาโตตุลาการอาจจะกำหนดให้ทั้งสองฝ่ายส่งบันทึกคำให้การพยานเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าเพื่อว่า เมื่อถึงวันนัดสืบพยานคู่พิพาทอีกฝ่ายเพียงแต่ถามค้านจากบันทึกคำให้การพยานที่ได้ส่งไว้แล้ว ทั้งนี้เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินกระบวนพิจารณาของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

2.13 ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการมาตรฐานสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม
“ข้อพิพาทขัดแย้ง หรือข้อเรียกร้องใดๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญานี้ รวมทั้งปัญหาการผิดสัญญา การเลิกสัญญาหรือความสมบูรณ์ของสัญญานี้ ให้ทำการวินิจฉัยชี้ขาดโดยการอนุญาโตตุลาการตามข้อบังคับอนุญาโตตุลาการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการเสนอข้อพิพาท เพื่อการอนุญาโตตุลาการและให้อยู่ภายใต้การจัดการของสถาบันดังกล่าว

2.14 ประโยชน์ที่จะได้จากระบบอนุญาโตตุลาการในศาล
ประโยชน์ที่จะได้จากระบบอนุญาโตตุลาการในศาล คือ ศาลอาจกำหนดโดยความเห็นชอบของคู่ความทุกฝ่ายในการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นมาเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงที่อาจต้องนำพยานหลักฐานมาสืบในศาลเป็นเวลานานเนื่องจากเป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะของวิชาชีพ เช่น ข้อพิพาทว่าตึกร้าวเป็นความผิดของวิศวกรผู้ออกแบบหรือผู้รับจ้าง แพทย์กระทำการโดยประมาทเลินเล่อในการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับคนไข้หรือไม่ นักบินกระทำการโดยประมาทเลินเล่อในการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการนำเครื่องบินลงหรือขึ้นจากสถานบินหรือไม่ ในกรณีข้างต้นหากคู่ความสามารถตกลงให้อนุญาโตตุลาการที่มีความรู้เชี่ยวชาญพิเศษเช่น คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ หรือแม้ว่าวิศวกรการบินจากต่างประเทศ2 เป็นผู้ชี้ขาดในข้อพิพาทต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็จะทำให้การพิจารณาพิพากษาของศาลเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และถูกต้องตามเจตนารมณ์ของคู่ความและหลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง

3. สรุป
สรุปเกี่ยวกับเรื่องอนุญาโตตุลาการ จึงถือว่าเป็นหน้าที่ของศาลภายใต้กฎหมายไทย คือพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.๒๕๔๕ ที่จะต้องช่วยส่งเสริมและคอยควบคุมดูแลระบบอนุญาโตตุลาการให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน้าที่หลักของศาลภายใต้พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ
ซึ่งแบ่งได้ 3 ประการดังนี้
ประการแรก หน้าที่จะต้องจำหน่ายคดีเมื่อคู่กรณีมีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการระหว่างกัน กล่าวคือหากคู่กรณีฟ้องคดีต่อศาลเกี่ยวกับข้อพิพาทในสัญญา โดยไม่ได้ดำเนินการอนุญาโตตุลาการตามสัญญากันก่อน เมื่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องการให้ใช้สัญญาอนุญาโตตุลาการ ศาลก็จะต้องจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวเป็นหน้าที่ในอันที่จะส่งเสริมระบบอนุญาโตตุลาการ เพราะหากศาลไม่สั่งจำหน่ายคดีก็จะเป็นการทำลายเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ และจะทำให้ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการไม่มีผลใช้บังคับ
ประการที่สอง เป็นหน้าที่ในการสนับสนุนการดำเนินการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการหน้าที่ดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจศาลเกี่ยวกับการมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เพื่อประโยชน์ของคู่กรณีในระหว่างพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ และการให้ศาลชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายนอกจากนี้ศาลยังอาจสนับสนุนกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการ โดยจะเป็นคนกลางชี้ขาดหรือตัดสินปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ เช่น การขอให้ศาลแต่งตั้งและถอดถอนอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาด การขยายเวลาในการพิจารณา เป็นต้น
ประการสุดท้าย คือ หน้าที่ในการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ หากคู่กรณีไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดดังกล่าว ฝ่ายที่จะขอให้มีการบังคับจะต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาตามคำชี้ขาด การที่จะมีคำพิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือไม่นั้น ศาลจะต้องไต่สวนว่าคำชี้ขาดนั้นว่าชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทหรือไม่เป็นคำชี้ขาดที่เกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบหรือไม่ คำชี้ขาดนั้นอยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการหรือคำขอของคู่กรณีหรือไม่ ซึ่งอำนาจในการไต่สวนดังกล่าวทำให้ศาลเป็น
ผู้ควบคุมดูแลกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการให้ดำเนินไปโดยถูกต้อง
การไต่สวนของศาลจะต้องกระทำโดยด่วน และจะต้องพิจารณาว่าการดำเนินกระบวนการพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีข้อผิดพลาดหรือไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ ถ้าหากไม่มีข้อผิดพลาดหรือบกพร่องศาลก็จะมีคำพิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปวินิจฉัยถึงประเด็นข้อพิพาทที่อนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดไปแล้ว และศาลต้องมีทัศนคติที่ดีต่อระบบอนุญาโตตุลาการไม่ว่าจะเป็นอนุญาโตตุลาการภายในประเทศหรืออนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ดังนั้นระบบการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ จึงมีความจำเป็นสำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน สถาบันศาลจะต้องให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการดูแลให้ระบบนี้เจริญก้าวหน้าเคียงคู่ศาลและเป็นผู้ช่วยของศาลในการระงับข้อพิพาททางแพ่งและพาณิชย์


4. กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบพระคุณ อาจารย์ปรัชญา อยู่ประเสริฐ จากสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ที่ได้บรรยายสรุปในหัวข้อ การอนุญาโตตุลาการกับงานวิศวกรรมโดยที่ผู้เขียนสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการบรรยายมาประยุกต์ใช้ในบทความของผู้เขียนเองและผู้เขียนขอขอบพระคุณเพื่อนๆพี่ๆทุกท่านและบางท่านที่มิได้เอ่ยนามในที่นี้ ที่ได้ให้ข้อมูลของการอนุญาโตตุลาการต่างๆด้วยดีเสมอมา
ท้ายนี้ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความที่ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลมานี้นั้น จะมีประโยชน์แก่ท่านที่สนใจ ไม่มากก็น้อยในการค้นคว้าหาข้อมูลต่อไป


เอกสารอ้างอิง
[1] การอนุญาโตตุลาการ สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม
[2] กฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม
[3] ประมวลจริยธรรมของอนุญาโตตุลาการ สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม
[4] สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม. http://www.adr.or.th
[5] รศ. ดร.กอบกุล รายะนาคร, การระงับข้อพิพาทโดยสันติ. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. <> http://www.law.cmu.ac.th/admin/journal/up_pic/62512.ppt

ประวัติผู้เขียน
นายวาสุเทพ ช่างสุวรรณ วศบ. (โยธา) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
ผู้จัดการโครงการ
บริษัท อินเตอร์ ซีเอ็ม จำกัด

วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553

การอนุญาโตตุลาการ กับงานวิศวกรรม(ผู้เรียกร้อง)

การอนุญาโตตุลาการ กับงานวิศวกรรม
(ผู้เรียกร้อง)
(Arbitration and Engineering works )
นายวาสุเทพ ช่างสุวรรณ
โครงการการศึกษาภาคพิเศษระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขา การตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปีการศึกษา 2552
บทนำ
ในโครงการก่อสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการประเภทใดมักจะเกิดความขัดแย้งในด้านต่างๆได้เสมอและเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงแทบไม่ได้ หากคู่กรณีไม่สามารถหาข้อยุติในความขัดแย้งนั้นได้ก็จะเกิดเป็นข้อพิพาทขึ้น วิธีอนุญาโตตุลาการเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการระงับยุติข้อพิพาทในงานก่อสร้างและมีการยอมรับกันโดยทั่วไปในสากล โดยหลักการคือคู่กรณีจะเลือกบุคคลที่เป็นอนุญาโตตุลาการตัวแทนของแต่ละฝ่ายมาหาข้อยุติร่วมกัน หากตัวแทนทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ก็จะต้องแต่งตั้งบุคคลที่สามเพื่อเป็นอนุญาโตตุลาการผู้ตัดสินชี้ขาด
วิธีอนุญาโตตุลาการนี้มีข้อเด่นที่การให้คู่กรณีมีโอกาสในการยุติข้อพิพาทกันเอง สามารถจะรักษาความลับได้ และที่สำคัญผลคำตัดสินของวิธีนี้จะผูกพันคู่กรณีได้ตามกฎหมาย จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะให้ความคุ้มค่าในการแก้ไขข้อขัดแย้งและจะยุติข้อพิพาทใดๆ ดังนั้นข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการที่มีการตกลงร่วมกันของคู่สัญญาก่อสร้างจะเป็นรูปแบบการประกันความสูญเสียอีกแบบหนึ่ง หากคู่สัญญาก่อสร้าง ไม่ได้มีการกำหนดแนวทางและการใช้สัญญาระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการไว้ตั้งแต่เริ่มต้นการทำสัญญา เมื่อเกิดกรณีพิพาทขึ้นเจ้าของโครงการหรือผู้รับเหมาก่อสร้างอาจจะนำกรณีพิพาทนั้นไปฟ้องต่อศาล ทำให้คดีอยู่ในการควบคุมและดำเนินไปโดยทนายความของคู่กรณีและข้อยุติจะขึ้นอยู่กับการตัดสินของศาล ในลักษณะนี้คู่สัญญาก่อสร้างจะเสียโอกาสในการใช้สิทธิของตนในการยุติข้อพิพาทด้วยกันเอง ในสัญญามาตรฐานงานก่อสร้างของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศ
ไทยที่พัฒนาขึ้นจากสัญญามาตรฐานของ FIDIC (La Fe'de'ration International des Inge'nieursConseils) มีเนื้อหาและใจความกล่าวในด้านระบบและกระบวนการอนุญาโตตุลาการเป็นหลัก แต่ไม่ได้กล่าวในด้านกรอบของสิทธิที่คู่สัญญาก่อสร้างจะนำสัญญานี้มาใช้ได้เพียงใด
ดังนั้นปัญหาดังกล่าวในทางปฏิบัติเมื่อคู่สัญญาไม่ได้หยิบยกข้อสัญญานี้ขึ้นมาใช้เพราะไม่รู้ว่ามีสิทธิและความผูกพันในการใช้ได้เพียงใด อาจมีการตัดปัญหาดังกล่าวโดยใช้วิธีการตกลงนอกรอบหรือเป็นการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งบางกรณีสัญญาก่อสร้างหรือเอกสารประกอบสัญญาจะให้อำนาจกับฝ่ายรัฐเป็นผู้ชี้ขาดฝ่ายเดียว จะเกิดเป็นข้อกำหนดในสัญญาที่อาจไม่เป็นธรรมในบางกรณีได้ ดังนั้นการได้ใช้สัญญาอนุญาโตตุลาการ จะเป็นวิธีทางหนึ่งที่จะทำให้ข้อพิพาทต่างๆได้รับการแก้ไขอย่างมีระบบและเป็นธรรมตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
อีกปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่น่าสนใจในวงการก่อสร้าง คือ ส่วนใหญ่คู่กรณีพิพาทจะเลือกอนุญาโตตุลาการที่เป็นตัวแทนของตน เป็นนักกฎหมายมากกว่าการเลือกผู้มีวิชาชีพทางการก่อสร้างเนื่องจากยังขาดความรู้และเข้าใจในหลักการใช้วิธีทางอนุญาโตตุลาการ การเลือกนักกฎหมายเป็นอนุญาโตตุลาการนี้จะเกิดปัญหาการทำความเข้าใจในการก่อสร้าง เพราะไม่สามารถเข้าถึงประเด็นปัญหาอย่างแท้จริง
ดังนั้นในทางปฏิบัติจะต้องมีการแต่งตั้งวิศวกรคนกลางมาทำหน้าที่ในการสรุปประเด็นกรณีข้อพิพาทนั้นก่อนที่มีการตัดสินชี้ขาด จะทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการพิจารณาและไม่เกิดประสิทธิภาพในการพิจารณาประเด็นข้อพิพาท ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการศึกษาถึงปัญหาการใช้ และศึกษาแนวทางในการพิจารณาใช้สัญญาอนุญาโตตุลาการให้ชัดเจนเพื่อคู่สัญญาก่อสร้างจะสามารถรักษาสิทธิในการใช้สัญญานี้ตามเจตนาที่ได้ตกลงกันไว้ การศึกษานี้จะช่วยเสริมองค์ความรู้ให้กับผู้มีวิชาชีพวิศวกรโยธา สถาปนิก นำไปพิจารณาใช้ในฐานะอนุญาโตตุลาการ (Arbitrator) เจ้าของโครงการในฐานะผู้ว่าจ้าง ผู้รับเหมาก่อสร้างในฐานะผู้รับจ้างและกับวงการวิศวกรรมก่อสร้าง
ขั้นตอนการพิจารณาในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ
1. มีข้อพิพาทเกิดขึ้นในสัญญาที่มีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ
2. คำเสนอข้อพิพาทโดย(ผู้เรียกร้อง)และคำเรียกร้องแย้ง โดย(ผู้คัดค้าน) ซึ่งเริ่มต้นกระบวนการอนุญาฯโดยการส่ง“คำเสนอข้อพิพาท”ต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการของผู้เรียกร้อง
3. นัดพร้อมเพื่อไกล่เกลี่ย และกำหนดกระบวนพิจารณา
4. ไม่สามารถตกลงกันได้ดำเนินการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ
5. กำหนดประเด็นข้อพิพาท หน้าที่นำสืบพยานและกระบวนพิจารณา
6. คณะอนุญาโตตุลาการดำเนินการสืบพยาน
7. คณะอนุญาโตตุลาการทำการชี้ขาด
8. ส่งสำเนาคำชี้ขาดให้แก่คู่กรณี
9. กรณีมีการแก้ไขเพิ่มเติม ตีความคำชี้ขาด 10. ขอให้ศาลเพิกถอน หรือบังคับให้ตามคำชี้ขาด
ผู้เรียกร้องในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ คือใคร
“ผู้เรียกร้อง” คือคู่พิพาทฝ่ายที่เริ่มกระบวนการอนุญาโตตุลาการด้วยการส่ง “คำเสนอข้อพิพาท” ต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเปรียบได้กับ “โจทก์” ในการฟ้องร้องคดีต่อศาล โดยผู้เรียกร้องประสงค์จะใช้สิทธิเรียกร้องอย่างใดอย่างหนึ่งที่ตนอ้างว่ามีต่อคู่พิพาทอีกฝ่าย และให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับสิทธิที่มีการโต้แย้งกันอยู่นั้น
เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นจะต้องทำอย่างไรดี
ก่อนอื่นท่านต้องตรวจสออบก่อนว่าในสัญญาที่ท่านทำกับคู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่งไก้กำหนดวิธีการระงับข้อพิพาทไว้อย่างไร สัญญากำหนดให้ระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการหรือวิธีการอื่น หากในสัญญามีการกำหนดกระบวนการหรือขั้นตอนใดๆ ก่อนจะให้มอบขอพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ เช่น การเจรจา การไกล่เกลี่ย เป็นต้น ท่านควรต้องดำเนินกระบวนการหรือข้นตอนดังกล่าวให้ครบถ้วนเสียก่อน
จะมอบข้อพิพาททุกเรื่องให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้หรือไม่
ท่าต้องตรวจสอบดูก่อนว่าในสัญญากำหนดขอบเขตหรือประเภทของข้อพิพาทที่จะสามารถมอบให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดได้หรือไม่ ตามปกติท่านย่อมสามารถมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดได้เฉพาะข้อพิพาทตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเท่านั้น
“คำเสนอข้อพิพาท” จะต้องมีรายละเอียดอะไรบ้าง
คำเสนอข้อพิพาทเป็นเอกสารที่ใช้ในการเริ่มกระบวนการอนุญาโตตุลาการต่อสถาบันฯ เปรียบได้กับคำฟ้องที่เสนอต่อศาล โดยอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้ คำขอให้ระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ ชื่อและที่อยู่ของคู่พิพาท ข้อสัญญาอนุโตตุลาการสัญญาหรือนิติสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทข้อเท็จจริงอันเป็นฐานแห่งข้อเรียกร้อง และจำนวนเงินที่เรียกร้องข้อเรียกร้องและคำขอ จำนวนอนุญาโตตุลาการ (กรณีไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญา) พร้อมสำเนาในจำนวนเพียงพอที่จะส่งให้คณะอนุญาโตตุลาการ และคู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่ง
นอกจากคำเสนอข้อพิพาทแล้วต้องยื่นเอกสารอะไรประกอบอีกบ้าง
เอกสารอื่นเช่นหนังสือมอบอำนาจ หนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ของทั้งสองฝ่าย (กรณีเป็นห้างหุ้นส่วน บริษัท) ใบมอบฉันทะ (กรณีให้ผู้อื่นยื่นเอกสารแทน) สัญญาหรือสำเนาสัญญาที่เกี่ยวกับพิพาท เป็นต้น
การมอบข้อพิพาทให้สถาบันอนุญาโตตุลาการสำนักงานศาลยุติธรรม ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่
คู่พิพาทไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการจัดการให้แก่สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม โดยจะต้องเสียเฉพาะค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามที่เกิดขึ้นในการดำเนินกระบวนพิจารณาเท่านั้น เช่น ค่าป่วยการ ค่าเครื่องดื่ม และของว่างในการประชุมและค่าอากรแสตมป์ เป็นต้น
หากต้องการจะไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมยอมความในชั้นอนุญาโตตุลาการจะทำอย่างไร
คู่พิพาทสามารถร้องขอให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยสถาบันอนุญาโตตุลาการได้ ซึ่งตามปกติมักจะกระทำในนัดแรกของกระบวนพิจารณา แต่แม้จะผ่านกระบวนพิจารณานัดดังกล่าวแล้ว แต่คู่พิพาทสามารถทำความตกลงประนะประนอมยอมความภายหลังก็สามารถทำได้เสมอ ซึ่งเมือสามารถตกลงกันได้อาจจะให้มีการถอนข้อเรียกร้องไป หรือให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดตามยอมก็ได้
หากต้องการจะเปลี่ยนแปลงรายละเอียดขั้นตอนในการดำเนินกระบวนพิจารณาที่กำหนดในสัญญา หรือข้อบังคับจะทำได้หรือไม่ เพียงใด
ตามปกติคู่พิพาทย่อมสามารถตกลงเปลี่ยนแปลงรายละเอียดขั้นตอนในการดำเนินกระบวนพิจารณาได้ตามที่ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าเหมาะสมกับข้อพิพาทของตน แต่เมื่อมีการตกลงอย่างไรแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในข้อสัญญาอนุโตตุลาการ หรือความตกลงต่างหาก คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อตกลงนั้นได้แต่ฝ่ายเดียว
ภายหลังส่งเรื่องให้สถาบันฯ แล้วจะต้องทำอย่างไรต่อไป
สถาบันฯ จะจัดส่งสำเนาคำเสนอข้อพิพาทให้คู่พิพาทอีกฝ่ายซึ่งเรียกว่า “ผู้คัดค้าน” เพื่อให้ทำคำคัดค้านภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับสำเนาคำเสนอข้อพิพาท ระหว่างนี้ผู้เรียกร้องควรต้องติดต่อประสานงานกับนิติกรเจ้าของสำนวนหากปรากฏว่าการจัดส่งเอกสารมีข้อขัดข้อง เพื่อจะได้ดำเนินการจัดส่งใหม่ หรือแถลงเกี่ยวกับที่อยู่ปัจจุบันของผู้คัดค้าน

กระบวนการภายหลังการส่งคำคู่ความจะเป็นอย่างไรต่อไป
เมื่อดำเนินการเกี่ยวกับคำเสนอข้อพิพาทและคำคัดค้านเรียบร้อยแล้วสถาบันฯ จะดำเนินการเกี่ยวกับการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการตามจำนวนที่กำหนดในสัญญา หากมีฝ่ายใดไม่แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการตามกำหนดก็จะต้องดำเนินการร้องขอให้ศาลตั้งต่อไป เมื่อได้อนุญาโตตุลาการครบแล้ว ก็จะดำเนินการนัดพร้อมเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทและวันสืบพยานของแต่ละฝ่าย เมื่ออนุญาโตตุลาการทำคำชี้ขาดเสร็จแล้วสถาบันฯ ก็จะส่งสำเนาคำชี้ขาดให้คู่พิพาทแต่ละฝ่ายทราบ

การเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง เพื่อการสืบพยาน ในชั้นอนุญาโตตุลาการ
คู่พิพาทควรมีการเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับพยานหลักฐานที่จะนำเข้าสืบให้พร้อม เนื่องจากคณะอนุญาโตตุลาการอาจจะกำหนดให้ทั้งสองฝ่ายส่งบันทึกคำให้การพยานเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าเพื่อว่า เมื่อถึงวันนัดสืบพยานคู่พิพาทอีกฝ่ายเพียงแต่ถามค้านจากบันทึกคำให้การพยานที่ได้ส่งไว้แล้ว ทั้งนี้เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินกระบวนพิจารณาของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการมาตรฐานสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม
“ข้อพิพาทขัดแย้ง หรือข้อเรียกร้องใดๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญานี้ รวมทั้งปัญหาการผิดสัญญา การเลิกสัญญาหรือความสมบูรณ์ของสัญญานี้ ให้ทำการวินิจฉัยชี้ขาดโดยการอนุญาโตตุลาการตามข้อบังคับอนุญาโตตุลาการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการเสนอข้อพิพาท เพื่อการอนุญาโตตุลาการและให้อยู่ภายใต้การจัดการของสถาบันดังกล่าว

ประโยชน์ที่จะได้จากระบบอนุญาโตตุลาการในศาล
ประโยชน์ที่จะได้จากระบบอนุญาโตตุลาการในศาลคือ ศาลอาจกำหนดโดยความเห็นชอบของคู่ความทุกฝ่ายในการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นมาเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงที่อาจต้องนำพยานหลักฐานมาสืบในศาลเป็นเวลานานเนื่องจากเป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะของวิชาชีพ เช่น ข้อพิพาทว่าตึกร้าวเป็นความผิดของวิศวกรผู้ออกแบบหรือผู้รับจ้าง แพทย์กระทำการโดยประมาทเลินเล่อในการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับคนไข้หรือไม่ นักบินกระทำการโดยประมาทเลิ่นเล่อในการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการนำเครื่องบินลงหรือขึ้นจากสถานบินหรือไม่ ในกรณีข้างต้นหากคู่ความสามารถตกลงให้อนุญาโตตุลาการที่มีความรู้เชี่ยวชาญพิเศษเช่น คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ หรือแม้ว่าวิศวกรการบินจากต่างประเทศ2 เป็นผู้ชี้ขาดในข้อพิพาทต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็จะทำให้การพิจารณาพิพากษาของศาลเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และถูกต้องตามเจตนารมณ์ของคู่ความและหลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง

สรุปเกี่ยวกับเรื่องอนุญาโตตุลาการ จึงถือว่าเป็นหน้าที่ของศาลภายใต้กฎหมายไทย คือพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.๒๕๔๕ ที่จะต้องช่วยส่งเสริมและคอยควบคุมดูแลระบบอนุญาโตตุลาการให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน้าที่หลักของศาลภายใต้พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ
ซึ่งแบ่งได้ 3 ประการดังนี้
ประการแรก หน้าที่จะต้องจำหน่ายคดีเมื่อคู่กรณีมีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการระหว่างกัน กล่าวคือหากคู่กรณีฟ้องคดีต่อศาลเกี่ยวกับข้อพิพาทในสัญญา โดยไม่ได้ดำเนินการอนุญาโตตุลาการตามสัญญากันก่อน เมื่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องการให้ใช้สัญญาอนุญาโตตุลาการ ศาลก็จะต้องจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวเป็นหน้าที่ในอันที่จะส่งเสริมระบบอนุญาโตตุลาการ เพราะหากศาลไม่สั่งจำหน่ายคดีก็จะเป็นการทำลายเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ และจะทำให้ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการไม่มีผลใช้บังคับ
ประการที่สอง เป็นหน้าที่ในการสนับสนุนการดำเนินการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการหน้าที่ดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจศาลเกี่ยวกับการมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เพื่อประโยชน์ของคู่กรณีในระหว่างพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ และการให้ศาลชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายนอกจากนี้ศาลยังอาจสนับสนุนกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการ โดยจะเป็นคนกลางชี้ขาดหรือตัดสินปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ เช่น การขอให้ศาลแต่งตั้งและถอดถอนอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาด การขยายเวลาในการพิจารณา เป็นต้น
ประการสุดท้าย คือ หน้าที่ในการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ หากคู่กรณีไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดดังกล่าว ฝ่ายที่จะขอให้มีการบังคับจะต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาตามคำชี้ขาด การที่จะมีคำพิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือไม่นั้น ศาลจะต้องไต่สวนว่าคำชี้ขาดนั้นว่าชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทหรือไม่เป็นคำชี้ขาดที่เกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบหรือไม่ คำชี้ขาดนั้นอยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการหรือคำขอของคู่กรณีหรือไม่ ซึ่งอำนาจในการไต่สวนดังกล่าวทำให้ศาลเป็น
ผู้ควบคุมดูแลกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการให้ดำเนินไปโดยถูกต้อง
การไต่สวนของศาลจะต้องกระทำโดยด่วน และจะต้องพิจารณาว่าการดำเนินกระบวนการพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีข้อผิดพลาดหรือไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ ถ้าหากไม่มีข้อผิดพลาดหรือบกพร่องศาลก็จะมีคำพิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปวินิจฉัยถึงประเด็นข้อพิพาทที่อนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดไปแล้ว และศาลต้องมีทัศนคติที่ดีต่อระบบอนุญาโตตุลาการไม่ว่าจะเป็นอนุญาโตตุลาการภายในประเทศหรืออนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ดังนั้นระบบการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ จึงมีความจำเป็นสำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน สถาบันศาลจะต้องให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการดูแลให้ระบบนี้เจริญก้าวหน้าเคียงคู่ศาลและเป็นผู้ช่วยของศาลในการระงับข้อพิพาททางแพ่งและพาณิชย์
เอกสารอ้างอิง
[1]การอนุญาโตตุลาการ สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม
[2]กฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม
[3]ประมวลจริยธรรมของอนุญาโตตุลาการ สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม
[4] สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม. http://www.adr.or.th

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553

อนุญาโตตุลาการ

หัวข้อผู้เรียกร้อง